- สืบเนื่องจากการตีพิมพ์ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเทสต์การติดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ด้วยตนเองโดย องค์การอนามัยโลก มาเลเซียจะกลายเป็นประเทศแรกๆ ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่อันก้าวล้ำ เพื่อการศึกษาผลกระทบของการเทสต์การติดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ด้วยตนเอง
- ผลการศึกษาฉบับนี้จะนำเสนอข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบ และเป็นคำแนะนำที่จะทำให้แผนงานเกิดสัมฤทธิ์ผล ตลอดจนการขยายผลให้บริการเทสต์การติดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ด้วยตนเอง สามารถกระจายไปทั่วโลก
องค์กร FIND พันธมิตรระดับโลกเพื่อการวินิจฉัยโรค จับมือร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข มาเลเซีย (MoH), เดอะ มาเลเซี่ยน เอดส์ เคาน์ซิล (MAC), องค์การอนามัยโลก (WHO) และ the Drugs for Neglected Diseases initiative (DNDi) แถลงผลการศึกษาผลกระทบของการเทสต์การติดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ด้วยตนเอง ในประเทศมาเลเซีย
ผลการศึกษาด้านผลกระทบของการเทสต์ดังกล่าวได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ ระหว่างงาน webinar หัวข้อ “Hepatitis C can’t wait, Malaysia isn’t waiting” ซึ่งเป็นการแชร์ผลการศึกษาล่วงหน้าก่อน วันตับอักเสบโลก 2021 – ต่อเนื่องจาก คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก new hepatitis C virus self-testing recommendations ที่ได้มีการแชร์สู่สาธารณะ ในงานประชุม สมาคมโรคเอดส์นานาชาติ (International AIDS Society: IAS)
ในต้นเดือน มิ.ย. ปีนี้ มาเลเซียได้ประกาศอนุมัติการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข แก่ ยาราวิดาสเวียร์ เพื่อรักษาโรคตับอักเสบ ซี การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบของการเทสต์การติดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ด้วยตนเอง นับเป็นการตอกย้ำพันธสัญญาที่มีต่อการกำจัดโรคดังกล่าวภายในปี 2030 ในประเทศมาเลเซียมีการประเมินว่ามีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี จำนวนมากกว่า 400,000 ราย ซึ่งมีเพียง 1% ที่ได้เข้ารับการรักษา ตั้งแต่ปลายปี 2019 มาเลเซียได้มีการนำวิธีการรักษาแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้กับโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ซึ่งเอื้ออำนวยให้สถานพยาบาลปฐมภูมิสามารถทำการตรวจ และรักษาโรคดังกล่าวได้
ดาโต๊ะ ดร มูฮัมหมัด ราดซิ อาบู ฮัสซาน หัวหน้าระดับชาติ แผนกโรคทางเดินอาหาร และโรคตับ กระทรวงสาธารณสุข กล่าว “จากการศึกษาผลกระทบฉบับนี้ ทำให้เราเข้าใจถึง การตรวจหาโรคด้วยตนเอง มีส่วนทำให้การตรวจมีจำนวนเพิ่มขึ้นในหมู่ประชากรที่ไม่สามารถเขาถึง สถานพยาบาลที่ตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการได้ ซึ่งจะทำให้การดูแลรักษาเป็นไปอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง”
การศึกษาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการร่วมมือกับองค์กรในชุมชน – the Malaysian AIDS Council (MAC) ซึ่งการศึกษาผลกระทบดังกล่าวพัฒนาจากงานที่มีอยู่แล้วคือ การทดสอบการติดโรคเอชไอวีด้วยตนเองผ่านทางแพล็ตฟอร์มออนไลน์ เรียกว่า JOM TEST ที่มีเป้าประสงค์จะทดสอบประชากรบางส่วนที่อาจจะคลาดจากการตรวจปกติที่ต้องทำในสถานพยาบาลทั่วไป
“การตรวจวินิจฉัยโรคยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ได้รับการตรวจสามารถรับการรักษาที่เหมาะสม” กล่าวโดย ดาโต๊ะ ดร คริสโตเฟอร์ ลี ประธานของ Malaysia AIDS Council “เรารู้สึกภูมิใจที่มีส่วนช่วยเหลือในการศึกษาผลกระทบ เพื่อทำความเข้าใจต่อผลกระทบของวิธีการตรวจโรคด้วยตนเอง ให้เป็นอีกหนึ่งวิธีเพิ่มเติมในการตรวจวินิฉัยโรค เพื่อไม่ให้มีใครที่จะต้องคลาดจากการตรวจโรคอีก หรือถูกปฏิเสธการเข้าถึงการรักษา”
ดร นูร์ ฮิสแชม อับดุลเลาะห์ อธิบดี กระทรวงสาธารณสุข มาเลเซีย กล่าว “มาเลเซียรู้สึกภาคภูมิใจที่นำนวัตกรรมล้ำหน้ามาแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี และทุกสิ่งเป็นไปได้ก็เพราะเรามีความตั้งใจที่แน่วแน่ในการหาทางออก เรารู้สึกยินดีที่ได้รับโอกาสทำงานร่วมกับพันธมิตรหลากหลายของเรา อาทิ FIND, DNDi, MAC และ องค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายการกำจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นภายในปี 2030”
ดร เม็ก โดเฮอร์ตี้ ผู้อำนวยการโครงการเกี่ยวกับโรคเอชไอวี โรคไวรัสตับอักเสบ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ทั่วโลก ของ องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “เราขอแสดงความยินดีแก่มาเลเซียที่ตัดสินใจลงมือกระทำอย่างฉับพลัน ตอบรับกับการเปิดตัวของแนวทางการตรวจโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ด้วยตนเองฉบับแรกที่เผยแพร่ไปทั่วโลก ในงานการประชุมสมาคมเอดส์นานาชาติ หรือ IAS 2021 ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2021 และนี่ยังส่งผลต่อการขยายการตรวจวินิจฉัยโรคให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรหลัก และกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ทั้งนี้ ยังจะสามารถอำนวยให้เกิดการลงมือปฏิบัติทั่วประเทศ ด้วยเป้าประสงค์หลัก คือ การกำจัดโรคดังกล่าวให้หมดสิ้นไป ภายในปี 2030”
ดร บิลล์ รอดดริเก้ซ์ ซีอีโอขององค์กร FIND กล่าว “โรคไวรัสตับอักเสบ ซี ยังคงเป็นปัญหากระทบต่อสาธารณสุขในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก การที่เราสามารถนำผลการศึกษาการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยตนเองอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจากการประกาศแนวทางฯ อย่างเป็นทางการ และอีกครั้งที่มาเลเซีย เป็นผู้นำในการประเมินกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการกำจัดโรคร้ายนี้ การให้ข้อมูลจะเป็นส่วนสำคัญยิ่งไม่เพียงต่อประเทศมาเลเซีย แต่ยังผลต่อประเทศอื่นๆ อีกมากมาย ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรนี้ที่แน่วแน่ในพันธสัญญาของการกำจัดโรคร้ายนี้ให้สำเร็จตามเป้าหมาย”
“โรคไวรัสตับอักเสบ ซี มีลักษณะโดดเด่นเพราะเราสามารถออกแบบกลยุทธ์การสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพเพื่อกำจัดโรคร้ายนี้ด้วยการรักษาที่มีราคาไม่แพง” กล่าว โดย ฌอง-มิเชล พีดาเนล ผู้อำนวยการ DNDi ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “หลังจากการประกาศอนุมัติขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไขของ ยาราวิดาสเวียร์ การศึกษานี้ยังเป็นความต่อเนื่องในการแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียยังคงเป็นนักรบแนวหน้าต่อสู้กับโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เรารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่ไม่เคยหยุดยั้งในการคิดค้นนวัตกรรมด้านการคัดกรองเพื่อทำให้การกำจัดโรคร้ายนี้เป็นความจริงขึ้นมาได้”
วันตับอักเสบโลก ตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคม ของทุกปี โดยวันดังกล่าวมีเป้าประสงค์ในการสร้างความตระหนักต่อโรคดังกล่าว โรคไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นภัยเงียบต่อสุขภาพ โดยส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อมักจะไม่ทราบสถานภาพของตนเอง เพราะมันไม่แสดงอาการใดๆ ผู้ติดเชื้อจึงไม่ขนขวายด้านการรักษา
เกี่ยวกับ FIND
องค์กร FIND, เป็นพันธมิตรระดับโลกด้านการวินิจฉัยโรค มุ่งมั่นทำให้การเข้าถึงการรักษาเท่าเทียมและทั่วถึง รวมถึงการวินิจฉัยโรคที่เชื่อถือได้ เราเชื่อมสัมพันธ์ระดับประเทศ และชุมชน ผู้ให้เงินบริจาค ผู้มีอำนาจนในการตัดสินใจ ผู้ให้บริการ และนักพัฒนาด้านสาธารณสุข ส่งเสริมให้เกิดการวิจัย ค้นคว้า นวัตกรรมของการวินิจฉัยโรค อีกทั้งยังทำให้การเทสต์โรคเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพที่มีความยั่งยืน และยืดหยุ่น เรามุ่งมั่นทำงานเพื่อช่วยชีวิต 1 ล้านคนผ่านการเข้าถึงการวินิจฉัยโรคที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้สูงถึง 1 พันล้านบาทในค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ตลอดจนผู้ป่วย และระบบสุขภพ เราเป็นผู้ผลักดันให้เกิด Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator diagnostics pillar และ Collaborating Centre for Laboratory Strengthening and Diagnostic Technology Evaluation ขององค์การอนามัยโลก – ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นได้ที่
เกี่ยวกับ DNDi
The Drugs for Neglected Diseases initiative (DNDi) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านการวิจัยและพัฒนายาที่ส่งมอบยารักษาขนานใหม่ๆ แก่ผู้ป่วยที่ถูกละเลยที่ต้องอยู่กับโรคไข้เหงาหลับ โรคชากาส โรคลิชมาเนีย โรคเท้าช้าง โรคฝีรั่ว โรคเอชไอวี และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี นอกเหนือจากนี้ DNDi ยังร่วมประสานงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกของ ANTICOV เพื่อค้นหาการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคโคโรนาไวรัส หรือ COVID-19 ที่มีอาการน้อย จนถึงปานกลางในแอฟริกา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์กรในปี 2003 จนถึงปัจจุบัน DNDi ได้ส่งมอบยารักษาใหม่ 9 ชนิด รวมถึง ยาส่วนผสมใหม่สำหรับ kala-azar และยารักษาโรคมาลาเรียชนิด fixed dose ในปี 2018 DNDi ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสารสำคัญในตัวยาใหม่ หรือ New Chemical Entity ชื่อ fexinidazole และได้รับการอนุมัติในปีเดียวกันเพื่อรักษาโรคไข้เหงาหลับทั้ง 2 ระดับอาการ dndi.org
เกี่ยวกับ องค์การอนามัยโลก (WHO)
องค์การอนามัยโลก เป็นองค์กรหลักและผู้นำด้านสาธารณสุขทั่วโลกที่อยู่ในระบบขององค์กรสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 ร่วมทำงานกับสมาชิก 194 รัฐ/ประเทศครอบคลุม 6 ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ทำให้โลกมีความปลอดภัย และดูแลกลุ่มประชากรเปราะบาง จุดมุ่งหมายปี 2019-2023 เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประชากรโลกกว่าพันล้านคนเข้าถึง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อปกป้องประชากรโลกอีกกว่า 1 พันล้านคนให้ปลอดภัยจากภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ และอีก 1 พันล้านคนให้มีสุขภาพ แลความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น who.int/
เกี่ยวกับ Malaysian AIDS Council
องค์กร Malaysian AIDS Council หรือเรียกสั้นๆ ว่า MAC ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1992 ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข มาเลเซีย ด้วยพันธสัญญาในการเป็นตัวแทน ขับเคลื่อน และสร้างความแข็งแกร่งแก่องค์กร และชุมชน ภาคประชาสังคม ซึ่งทำงานด้าน เอชไอวี/เอดส์ องค์กร MAC ทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรในการจัดกิจกรรมอันหลากหลายเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการปฏิรูปเชิงนโยบาย สร้างความตระหนักและพัฒนาสื่อต่างๆ เพื่อการสื่อสาร สร้างแคมเปญปลูกฝังความตระหนักรู้แก่สาธารณะ จัดงาน เวิร์คช้อป และสัมมนาต่างๆ ตลอดจนริเริ่มโปรแกรมป้องกันและให้ความรู้ บริการด้านการดูแลและสนับสนุน รวมถึงให้คำปรึกษาด้านจิตเวชอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน
FIND
Sarah-Jane Loveday
Director of Communications
M: +41 79 431 62 44
media@finddx.org
ROOTS PR (Kuala Lumpur)
Sara Sabri
sara.sabri@rootsasia.com
+60 14 3385945
DNDi
Frédéric Ojardias (Geneva)
fojardias@dndi.org
+41 79 431 62 16
Molly Jagpal (Kuala Lumpur)
mjagpal@dndi.org
+60 12 546 8362
Ilan Moss (New York)
imoss@dndi.org
+1 646 266 5216
Photo credit: Abang Amirrul Hadi – DNDi