ในปี 2020 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พิจารณาตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล แก่ ผู้ก่อตั้ง และ ผู้อำนวยการบริหารของ DNDi ดร เบอร์นาร์ด เป็นการยกย่องการอุทิศตนเพื่องานด้านสาธารณสุขตลอดทั้งชีวิตการทำงานของเขา ทั้งนี้รวมถึงการมีส่วนร่วมสนับสนุนการวิจัยสำหรับผู้ป่วยที่ถูกละเลย
ณ ขณะนั้นทั่วโลกกำลังเผชิญกับโรคระบาดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จึงถูกเลื่อน จนกระทั่งวันที่ 27 ม.ค. 2022 ดร เบอร์นาร์ด เปกูล ได้เข้าร่วมพิธีพระราชทานรางวัลอย่างเป็นทางการ จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราขกุมารี ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ในพิธีดังกล่าว นอกเหนือจาก ดร เบอร์นาร์ด เปกูล แล้ว ยังมีผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ อีก 4 ท่าน ซึ่งล้วนแต่มีผลงานอันโดดเด่นในสาขาเวชศาสตร์ ประจำปี 2020 และ 2021 ได้แก่ ศ.ดร วาเลนทิน ฟัสเตอร์ ศ. ปิเอเตอร์ อาร์ คัลลิส รองศาสาตราจารย์ คาทาลิน คาริโก และ ศ. ดรูว์ ไวส์แมน
ดร เบอร์นาร์ด เปกูล ได้บริจาคเงินรางวัลที่ได้รับจากรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลให้แก่ DNDi
‘DNDi มุ่งมั่นในการมอบความเป็นเลิศแห่งวิทยาศาสตร์สู่กลุ่มประชากรโลกที่ถูกละเลยมากที่สุด เราทำการค้นคว้าและพัฒนาเพื่อได้มาซึ่งยารักษาโรคที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล ในราคาที่สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง โดยมุ่งเน้นในโรคที่ส่งผลกระทบต่อประชากรในหลากหลายชุมชนทั่วโลกที่ไม่ได้รับการเหลียวแล งานของเราจึงไม่ได้ทำเพื่อหวังผลกำไร หากแต่ทำเพราะเราเชื่อว่า ผู้ป่วยทุกคนไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดบนโลกกนี้ มีสิทธิในการเข้าถึงยารักษาโรคอันเป็นผลลัพธ์ที่ดีเลิศจากการค้นคว้าวิจัย’ ดร เปกูล อธิบาย
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อ ดร เปกูล เพราะเขาได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานของเขาที่ประเทศไทยเมื่อ 35 ปีก่อน ซึ่งขณะนั้นเขาทำงานภาคสนามในค่ายผู้ลี้ภัยของ องค์กรแพทย์ไร้พรมแดน หรือ Médecins Sans Frontières (MSF) ที่ครอบคลุมทวีป แอฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเชีย ซึ่งเป็นที่เขาได้มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยที่ถูกละเลยด้วยตัวเขาเอง นี่เองเป็นเหตุผลที่ทำให้เขา และพันธมิตรหลากหลาย ร่วมกันก่อตั้งองค์กร DNDi
ในช่วงเวลาที่เขามาประเทศไทย ดร เปกูล ได้เข้าร่วมงานหลากหลายเพื่อสร้าง และกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรในประเทศ พร้อมกับแชร์ประสบการณ์ในสายงานที่เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ หนึ่งในงานไฮไล้ท์ คือ การร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่าง DNDi และ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันอันทรงเกียรติและมีชื่อเสียงด้านการแพทย์ การวิจัย ระดับแนวหน้าของไทย ใน
การริเริ่มด้านความร่วมมือระดับโลก ที่มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาการรักษา โรคไข้เลือดออก ที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล ในราคาไม่แพงที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ โรคไข้เลือดออก เป็นโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และอ่อนไหวต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนของโลก อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสิบอันดับภัยคุกคามด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุขโลก
การเยี่ยมเยียนประเทศไทยในครั้งนี้จบลงอย่างสวยงาม ท่ามกลางความตื่นตาตื่นใจของ การย้อมสีอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ณ โรงพยาบาบศิริราช การใช้แสงไฟสีม่วง และส้มสาดส่องไปทั่วทั้งภายนอกของอาคารนั้น เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญระดับโลก ที่รณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลก ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคมของทุกปี
งาน และวีดีโอต่างๆ
- พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล: https://www.youtube.com/watch?v=GfI-0bnabkM&t=813s
- งานทางวิชาการของผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในหัวข้อ ‘From Medical Innovation to Access to Treatment for all: How endemic countries can lead efforts to ensure access for patients in the Global South’: https://youtu.be/8tHDA4eyNV8
- การบรรยายพิเศษ – ‘Modern medicine: a triumph of science, but a defeat for access?’: https://iptv.mahidol.ac.th/topic/82027
- งานแถลงแผนกลยุทธ์องค์กรของ DNDi ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้หัวข้อ – ‘South-South leadership: working together on medical R&D to meet the needs of all patients, the example of dengue’: https://youtu.be/CVn5zI1cY00