• DNDi logo
  • Our work
    • Diseases
      • Sleeping sickness
      • Visceral leishmaniasis
      • Cutaneous leishmaniasis
      • Chagas disease
      • Filaria: river blindness
      • Mycetoma
      • Paediatric HIV
      • Cryptococcal meningitis
      • Hepatitis C
      • Dengue
      • COVID-19
      • Antimicrobial resistance
    • Research & development
      • R&D portfolio & list of projects
      • Drug discovery
      • Translational research
      • Clinical trials
      • Registration & access
      • Treatments delivered
    • Advocacy
      • Open and collaborative R&D
      • Transparency of R&D costs
      • Pro-access policies
  • Networks & partners
    • Partnerships
      • Our partners
      • Partnering with us
    • Global networks
      • Chagas Platform
      • HAT Platform
      • HELP Helminth Elimination Platform
      • LEAP Platform
      • redeLEISH Network
    • DNDi worldwide
      • DNDi Global Headquarters
      • DNDi DRC
      • DNDi East Africa
      • DNDi Japan
      • DNDi Latin America
      • DNDi North America
      • DNDi South Asia
      • DNDi South-East Asia
      • DNDi Southern Africa
  • News & resources
    • News & stories
      • News
      • Stories
      • Statements
      • Viewpoints
      • Social media
      • eNews Newsletter
    • Press
      • Press releases
      • In the media
    • Resources
      • Scientific articles
      • Our publications
      • Videos
    • Events
  • About us
    • About
      • Who we are
      • How we work
      • Our strategy
      • Our donors
      • Annual reports
    • Our people
      • Our leadership
      • Our governance
      • Contact us
    • Work with us
      • Working at DNDi
      • Job opportunities
      • Requests for proposal
  • Donate
DNDi logo
  • DNDi logo
  • Our work
    • Diseases
      • Sleeping sickness
      • Visceral leishmaniasis
      • Cutaneous leishmaniasis
      • Chagas disease
      • Filaria: river blindness
      • Mycetoma
      • Paediatric HIV
      • Cryptococcal meningitis
      • Hepatitis C
      • Dengue
      • COVID-19
      • Antimicrobial resistance
    • Research & development
      • R&D portfolio & list of projects
      • Drug discovery
      • Translational research
      • Clinical trials
      • Registration & access
      • Treatments delivered
    • Advocacy
      • Open and collaborative R&D
      • Transparency of R&D costs
      • Pro-access policies
  • Networks & partners
    • Partnerships
      • Our partners
      • Partnering with us
    • Global networks
      • Chagas Platform
      • HAT Platform
      • HELP Helminth Elimination Platform
      • LEAP Platform
      • redeLEISH Network
    • DNDi worldwide
      • DNDi Global Headquarters
      • DNDi DRC
      • DNDi East Africa
      • DNDi Japan
      • DNDi Latin America
      • DNDi North America
      • DNDi South Asia
      • DNDi South-East Asia
      • DNDi Southern Africa
  • News & resources
    • News & stories
      • News
      • Stories
      • Statements
      • Viewpoints
      • Social media
      • eNews Newsletter
    • Press
      • Press releases
      • In the media
    • Resources
      • Scientific articles
      • Our publications
      • Videos
    • Events
  • About us
    • About
      • Who we are
      • How we work
      • Our strategy
      • Our donors
      • Annual reports
    • Our people
      • Our leadership
      • Our governance
      • Contact us
    • Work with us
      • Working at DNDi
      • Job opportunities
      • Requests for proposal
  • Donate
Home > Press Releases Translations

ไทย จับมือ ดีเอ็นดีไอ ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับการวิจัยระดับโลกเพื่อสยบปัญหาไข้เลือดออก

Bangkok, Thailand — 25 Jan 2022
Share on twitter
Share on facebook
Share on linkedin
Share on email
Share on print
  • ไทย
    • English
    • Français
    • ไทย
    • 日本語

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นพันธมิตรรายแรกในระดับนานาชาติของดีเอ็นดีไอ ที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อการค้นหาแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรด้านการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับโรคที่ถูกละเลย (Drugs for Neglected Disease initiative (DNDi) หรือ ดีเอ็นดีไอ เพื่อการพัฒนาด้านการป้องกันและการรักษาที่สามารถเข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพสำหรับโรคไข้เลือดออกเป็นระยะเวลาห้าปี

ด้วยข้อตกลงดังกล่าว ทำให้สถาบันการศึกษาด้านการแพทย์ชั้นนำของไทยแห่งนี้ได้กลายเป็นสมาชิกรายแรกในแผนงานความร่วมมือแบบภาคีระดับนานาชาติ นำโดยกลุ่มประเทศที่มีโรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่น โดยการอุทิศให้กับการวิจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันในการค้นหาและส่งมอบแนวทางการรักษาใหม่สำหรับโรคไข้เลือดออก

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “แม้เราจะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ก็ตาม แต่เป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่อาจเพิกเฉยในความพยายามที่จะต่อกรกับโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนนับล้านคนทั่วโลกได้”

“หากกล่าวถึงโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยและที่เป็นปัญหาของประเทศไทยอันดับหนึ่งคือโรคไข้เลือดออก การกำจัดโรคนี้ให้หมดไปถือเป็นเป้าหมายของทุกองค์กร โดยเฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข  ที่ศิริราชแม้ว่าเราจะมีการวิจัยและพัฒนาการรักษา รวมถึงความก้าวหน้าด้านวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก แต่ยังให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีพอ ความร่วมมือกับดีเอ็นดีไอในครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการทำงานร่วมกับองค์กรระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในสถานที่วิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการสนับสนุนในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยอย่างถาวร” ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์ กล่าวเสริม

ไข้เลือดออกหรือไข้เดงกี่ โรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโดยมีความเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง นับเป็นหนึ่งในสิบของภัยคุกคามต่อการสาธารณสุขทั่วโลก อาการของโรคสามารถพบได้ทั้งการมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตามร่างกาย รวมถึงเจ็บกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือกระดูก ด้วยความรุนแรงของอาการดังกล่าวนี้จึงทำให้ไข้เลือดออกเป็นที่รู้จักกันในบางประเทศว่า “ไข้กระดูกแตก” (Breakbone fever)  สำหรับไข้เลือดออกหรือที่เรียกว่า ไข้เลือดออกไวรัสเดงกี่ (dengue haemorrhagic fever) สามารถทำให้เกิดอาการช็อค เลือดออกภายใน อวัยวะล้มเหลว และเสียชีวิตได้ 

ถึงกระนั้น แม้ว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกสูงถึง 390 ล้านรายต่อปีในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกก็ตาม หากแต่ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะเลย ซึ่งสิ่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นเหตุให้ผู้คนต้องทนทุกข์ทรมานจากการป่วยแล้ว ยังส่งผลต่อภาระที่เกินจะรับไหวทางระบบสาธารณสุขในพื้นที่เหล่านั้นอีกด้วย

ร้อยละ 70 ของภาระโรคไข้เลือดออกทั่วโลกอยู่ในทวีปเอเชียที่ซึ่งโรคไข้เลือดออกชนิดร้ายแรงได้กลายมาเป็นสาเหตุสำคัญในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในเด็กและผู้ใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศ  โดยประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกหลายหมื่นรายในแต่ละปี โดยจะมีการระบาดหนักในทุก ๆ 2-3 ปี ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2562 ที่เกิดการระบาดของโรคอย่างกว้างขวางในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย โดยพบผู้ป่วยมากกว่า 131,000 ราย

ความร่วมมือล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้มีเป้าประสงค์ที่นำไปสู่การค้นพบวิธีการรักษาใหม่ที่จะช่วยเยียวยารักษาอาการของไข้เลือดออก ป้องกันไม่ให้โรคพัฒนาไปสู่ไข้เลือดออกชนิดร้ายแรง รวมถึงช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อระบบสาธารณสุขได้ด้วย

ดีเอ็นดีไอ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งดำเนินการมาอย่างยาวนานในเรื่องโครงการด้านการแพทย์ระดับนานาชาติ โดยการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของการแบ่งปันองค์ความรู้ ข้อมูล และวิทยาการต่าง ๆ ที่เท่าเทียมและรวดเร็ว รวมถึงงานด้านการระดมทุนช่วยเหลืออีกด้วย

“เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้มาร่วมกับเรา ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นจะต้องยกประเด็นในเรื่องการป้องกันและการรักษาไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพที่คนไข้ทุกคนสามารถจ่ายค่ารักษาและเข้าถึงได้ขึ้นมา และเพื่อให้งานนี้สำเร็จได้สิ่งสำคัญที่สุดคือประเทศที่มีไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นจะต้องเป็นผู้นำ” ดร.เบอร์นาร์ด เปอคูว์ กรรมการบริหารดีเอ็นดีไอ (DNDi) เจนีวา และผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กล่าว

การค้นหาวิธีการรักษานับว่าเป็นเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด เพราะไข้เลือดออกนั้นมีอัตราการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าจะไม่เพียงส่งผลให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในแหล่งที่เป็นโรคประจำถิ่นแย่ลงไปกว่าเดิมแล้ว เรายังจะเห็นการแพร่กระจายของโรคนี้ในพื้นที่ซึ่งไม่เคยได้รับผลกระทบจากโรคนี้อีกด้วย”

ตัวเลขอุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 85 นับแต่ปี พ.ศ. 2533 จนถึงปี พ.ศ. 2562 โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปถูกทำนายไว้ว่าจะทำให้เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมีการขยายตัวได้ไวขึ้น รวมถึงอัตราการรอดชีวิต การขยายพันธุ์ และการเกาะกัดของยุงที่เป็นพาหะของโรคด้วย มีการคาดการณ์ถึงจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยงกับโรคไข้เลือดออกว่าจะแตะร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรโลกภายในปี พ.ศ. 2623 ด้วยสาเหตุจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเดินทางที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว และการเติบโตทางด้านประชากร

ข้อตกลงครั้งนี้ระหว่าง ดีเอ็นดีไอ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จะนำมาซึ่งความร่วมมือในโครงการศึกษาต่าง ๆ ที่จะต่อยอดการศึกษาวิจัยขั้นก่อนคลินิกในด้านวิธีการรักษาที่มีความเป็นไปได้ การทดสอบประสิทธิผลของยาชนิดเก่าที่นำมาใช้รักษาโรคใหม่ (repurposed drug) และการดำเนินการทดลองทางคลินิกของยาที่มีแนวโน้มที่ดีที่สุดในการรักษา ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือครั้งนี้ยังจะช่วยลดช่องว่างด้านความรู้และช่วยส่งเสริมให้การทำวิจัยทางคลินิกและการอนุมัติข้อกำหนดต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการระบุถึงความต้องการที่แท้จริงของโรคไข้เลือดออกอย่างเช่นการตรวจวินิจฉัยโรค พันธมิตรทั้งสองฝ่ายจะทำงานร่วมกันเพื่อระดมทุนและทรัพยากรต่าง ๆ ขณะที่แบ่งปันความรู้ทางงานวิจัยอย่างเปิดเผยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

อนึ่ง ดีเอ็นดีไอ กำลังอยู่ในขั้นตอนการลงนามข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันนี้กับประเทศอินเดีย และกำลังมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในการเจรจากับประเทศมาเลเซียและบราซิลเพื่อพัฒนาด้านการบำบัดรักษา  ขณะเดียวกัน อีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและกานาที่จะเริ่มการศึกษาด้านระบาดวิทยา อันจะช่วยให้เข้าใจโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เหล่านี้ได้อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น

ดีเอ็นดีไอ

องค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการวิจัยและพัฒนา ดีเอ็นดีไอ ดำเนินงานเพื่อส่งมอบวิธีการรักษาใหม่ให้กับผู้ป่วยด้วยโรคที่ถูกละเลย ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่กับโรคชากัส (Chagas disease) โรคเหงาหลับ (Sleeping sickness) หรือโรคแอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส (African trypanosomiasis) โรคลิซมาเนีย (leishmaniasis) โรคฟิลาเลีย (filarial infections) โรคติดเชื้อรา (mycetoma) โรคเอดส์ในเด็ก (paediatric HIV) และโรคตับอักเสบซี (hepatitis C) นอกจากนี้ ดีเอ็นดีไอ ยังประสานความร่วมมือในการทดลองทางคลินิกของ ANTICOV เพื่อหาวิธีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยถึงปานกลางในแอฟริกา นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ดีเอ็นดีไอ ได้ส่งมอบการรักษาใหม่ถึง 9 วิธี รวมทั้งยาสูตรผสมใหม่ ๆ สำหรับรักษาโรคลิซมาเนียแบบ kala-azar ยาต้านมาลาเรียสูตรผสมชนิดตายตัว 2 ชนิด และยาตัวใหม่อย่าง Fexinidazole ที่นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกจากการพัฒนาของดีเอ็นดีไอซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการรักษาโรคเหงาหลับได้ทุกระยะของโรคเมื่อปี พ.ศ. 2561

ดร. เบอร์นาร์ด เปอคูว์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารของดีเอ็นดีไอ มาเยือนกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จากการที่ได้อุทิศตนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับโรคที่ถูกละเลยทั่วโลก

สำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการรูปภาพหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

ณัฐชา เขียวชะอุ่ม (อั้ม)
บริษัท สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ในนามของดีเอ็นดีไอ)
โทร 02 653 2717 หรือ 081 812 8839
อีเมล am@spark.co.th

เฟรเดอริก โอจาร์ดีอัส (เจนีวา)
fojardias@dndi.org  
+41 79 431 62 16  

Dengue Asia Thailand

Read, watch, share

Loading...
Statements
24 May 2022

DNDi interventions at the 75th World Health Assembly

Hand holding pill
Publications
23 May 2022

Best science for all

Laboratory activities
Press releases
18 May 2022

Consortium formed to discover antivirals for COVID-19 receives NIH funding to develop globally accessible treatments for pandemics

Researcher working in a laboratory setting
News
18 May 2022

Health Journalists from Africa receive grants to report on COVID-19

After a serious outbreak of dengue fever in the Chinatown area of Bangkok in which a man died, the Bangkok Metropolitan Administration came in to fumigate the area and advise locals on possible breeding ground of mosquitos.
Press releases
29 Apr 2022

Ministry of Health, Malaysia and Drugs for Neglected Diseases initiative combine forces to lead the battle against dengue

News
22 Apr 2022

DNDi calls for nominations for a new Audit Committee Member

Microscope and computer
Press releases
20 Apr 2022

DNDi and BenevolentAI collaborate to accelerate life-saving drug discovery research in dengue

Woman looking up
Stories
13 Apr 2022

Early diagnosis and treatment can save millions of lives

VIEW ALL

Help neglected patients

To date, we have delivered nine new treatments, saving millions of lives.

Our goal is to deliver 25 new treatments in our first 25 years. You can help us get there. 

GIVE NOW
DNDi logo
Facebook-f
Twitter
Instagram
Linkedin-in
Youtube
International non-profit developing safe, effective, and affordable treatments for the most neglected patients.

Learn more

  • Diseases
  • R&D portfolio
  • Policy advocacy

Get in touch

  • Our offices
  • Contact us
  • Integrity Line

Support us

  • Donate
  • Subscribe to eNews

Work with us

  • Join research networks
  • Jobs
  • RFPs
  • Terms of Use   
  •   Acceptable Use Policy   
  •   Privacy Policy   
  •   Cookie Policy   
  •   Our policies   

  • Except for images, films and trademarks which are subject to DNDi’s Terms of Use, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-Share Alike 3.0 Switzerland License