กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย และ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Drugs for Neglected Diseases initiative (DNDi) ร่วมจับมือเพื่อแก้ปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี อีกหนึ่งภัยสุขภาพลำดับต้นๆ ที่บางครั้งเรียกกันว่า “โรคระบาดเงียบ”
ความร่วมมือที่ยังประโยชน์สู่สาธารณชนนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านโรคตับอักเสบจากไวรัส เพื่อกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ให้หมดสิ้น โดยเน้นด้านการจัดการปัญหาการเข้าถึงการวินิจฉัย และการรักษาโรค ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ผู้ติดเชื้อในไทยต้องเผชิญมาช้านาน
โรคไวรัสตับอักเสบ ซี มีอีกชื่อคือ “ฆาตรกรเงียบ” เพราะร้อยละ 80 ของผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการใดๆ เป็นเวลานานหลายปี มารู้ในภายหลังเมื่อเกิดอาการของโรคแทรกซ้อน อาทิ โรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ จากผู้ป่วยประมาณ 300,000 รายที่ต้องเสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปี มีจำนวนแค่เสี้ยวหนึ่งที่สามารถเข้าถึงการรักษาโรคนี้ได้ ถึงแม้ราคาของยารักษาโรคดังกล่าวได้ลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังสูงเกินไปสำหรับประเทศอีกมากมายที่พยายามผลักดันแผนการรักษาให้ครอบคลุมประชากรในประเทศของตน การนำกลยุทธ์ test-and-treat มาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้นโยบายด้านการกำจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นบรรลุผลสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น การที่ผู้ติดเชื้อสามารถเข้าถึงบริการวินิจฉัยโรคในระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันที เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อมาตรการการป้องกัน และลดการแพร่เชื้อไม่ให้ขยายออกไปในวงกว้าง
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก มีผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังอยู่ประมาณ 20 ล้านคน ปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการลดอัตราการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเร่งนำแผนการวินิจฉัย และการรักษา ไปปรับใช้ให้ครอบคลุมประชากรในประเทศอย่างรวดเร็ว ถึงแม้การรักษาที่ง่าย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้ถูกค้นมานาน
นับสิบปี แต่จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกก็มิได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากข้อมูลผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ของปี 2020 ของประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 378,000 ราย ซึ่งร้อยละ 0.5 เป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 15 – 64 ปี
“ความหวังของผมคือประเทศเราสามารถบรรลุเป้าหมายการกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ให้หมดสิ้นภายในปี 2030 คำแถลงร่วมฉบับนี้จึงเป็นก้าวสำคัญของประเทศที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อแนวทางการรักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง สำหรับผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ ซี การเข้าถึงตัวเลือกที่หลากหลายของยากลุ่ม DAAเป็นปัจจัยสำคัญปูทางสู่ความสำเร็จในการกำจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นภายในปี 2030 ดังนั้น เราจะต้องพัฒนาแนวทางด้านการสาธารณสุขให้แข็งแกร่งสร้างความมั่นใจแก่ผู้ติดเชื้อว่าสามารถเข้าถึงการรักษาที่มียาหลากหลายตัวให้เลือก รวมถึงยา ravidasvirทั้งนี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับที่ไม่แพง สามารถรักษาผู้ติดเชื้อเชื้อในจำนวนที่มากยิ่งขึ้น ตามเป้าประสงค์ของโปรแกรมการรักษาครอบคลุมทั่วประเทศ” กล่าวโดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ประเทศไทยได้พยายามจัดการกับปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี มาช้านาน มองย้อนไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้มีส่วนร่วมในการวิจัยทางคลินิก ระยะที่ 2 และ 3 เพื่อศึกษาความปลอดภัย ประสิทธิผล ความทนต่อยา เภสัชจลนศาสตร์ หรือการเป็นไปของยาเมื่อยาเข้าสู่ร่างกาย และการยอมรับของร่างกายกับการทานยาในกลุ่ม DAA สูตรผสมที่ต้องทานพร้อมกัน 2 ตัว คือ ravidasvir และ sofosbuvir เป็นระยะเวลา 12 และ 24 สัปดาห์ ซึ่งเป็นสูตรยาที่มีประสิทธิผลค่อนข้างสูง และราคาไม่แพง จนได้รับการจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียเป็นครั้งแรกในปี 2021 โดยสปอนเซอร์ร่วมในโครงการการวิจัยทางคลินิกนี้ คือ กระทรวงสาธารณสุขไทย ส่วนการดำเนินการก็ได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนเป็นอย่างเต็มที่ จากพันธมิตรหลากหลายองค์กรในไทย คาดหวังว่ายาใหม่ตัวนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ติดเชื้อในไทยที่เข้ารับการรักษา
พันธมิตรทั้ง 5 องค์กรในคำแถลงร่วมฉบับนี้ ต่างทำงานในบทบาทของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับการ implement กลยุทธ์ test-and-treat เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ในไทย ด้วยการผลักดันให้ผู้ติดเชื้อสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น ด้วยยารักษาตัวใหม่ประเภททาน และมีการขยายผลสู่ระดับชุมชนด้วยแคมเปญการตรวจคัดกรองโดยชุมชนเพื่อหาผู้ติดเชื้อที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรค เพราะร่างกายไม่แสดงอาการใดๆ ว่าได้ติดเชื้อแล้ว นอกเหนือจากนี้ พันธมิตรทั้งหลายจะร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักให้แพร่หลายสู่สาธารณชนถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อนี้ โดยมีพันธสัญญาที่จะร่วมมือกันกำจัดอุปสรรคต่างๆ ที่กีดกันการเข้าถึงการรักษา การตรวจวินิจฉัย ตลอดจนการรักษาโรค เพราะนี่จะเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้เกิดความล่าช้าในการบรรลุถึงเป้าหมายการกำจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นภายในปี 2030 ที่กำหนดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก
คำพูดสำคัญจากพันธมิตร เกี่ยวกับคำแถลงร่วม
“กลยุทธ์เชิงบูรณาการมีความสำคัญต่อการเสริมประสิทธิภาพในโครงสร้างสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ที่มีศักยภาพเพียงพอเพื่อรองรับแนวทางการรักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน แหละนี่คือปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง” กล่าวโดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
“เราสนับสนุน และเล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาความร่วมมือระหว่างพันธมิตรในเครือข่ายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการสอดส่องดูแล การป้องกัน และการควบตุมเชื้อเพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป้าหมายคือการกำจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นภายในปี 2030 ด้วยทำให้ขั้นตอนที่ง่ายขึ้นของการเข้าถึงยา – การตรวจคัดกรอง – การรักษา” กล่าวโดย ดร โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
“สปสช. สนับสนุนความพยายามเพื่อกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ให้หมดสิ้นภายในปี 2030ภัยสุขภาพที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้ติดเชื้อสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น จากการตรวจวินิจฉัยโรค หรือการเริ่มการรักษา ตามความต้องการของผู้ติดเชื้อ ซึ่งครอบคลุมในโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย” กล่าวโดย นพ.จเด็จธรรมธัชอารีเลขาธิการ สปสช.
“การกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ให้หมดสิ้นไป จะ มีความเป็นไปได้ ด้วยการเร่งขยายโปรแกรมต่างๆ ให้ครอบคลุมประชากรอย่างทั่วถึงโดยเร็ว เช่น การป้องกัน การวินิจฉัยโรค ตลอดจนการดูแลรักษา ส่วนขั้นตอนการรักษาต้องปรับให้ง่ายขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่จะเข้ารับการรักษา ซึ่งเราได้เปิดรับความคิดริเริ่มเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” กล่าวโดย ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
“แพทย์โรคตับ มีบทบาทสำคัญต่อการขยายการเข้าถึงการดูแลรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ให้ครอบคลุมผู้ติดเชื้อจำนวนมากยิ่งขึ้น โดยให้การสนับสนุนแก่แพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ test-and-treat ของการจัดการกับโรคไวรัสตับอักเสบ ซี” กล่าวโดย ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
“การร่วมมือในครั้งนี้เป็นการแก้ปัญหา ขจัดอุปสรรค หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ซึ่งจะมีส่วนเช่วยทำให้ผู้ติดเชื้อในไทยมีตัวเลือกของการรักษาที่หลากหลายขึ้น และหากเราต้องการบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก ด้านการกำจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นไปภายในปี 2030 นั้น เราจะต้องขยายโปรแกร การดูแลรักษาโรคให้ทั่วถึง และจัดหาตัวเลือกใหม่ๆ ของยารักษากลุ่ม DAA ในราคาที่ไม่แพง” กล่าวโดย Jean-Michel Piedagnel ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ DNDi
“เราจะไม่มีวันบรรลุเป้าหมายการกำจัดไวรัสตับอักเสบ ซี ให้หมดสิ้นภายในปี 2030 ได้ ถ้าขาดปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ คือเจตจำนงทางการเมือง พันธมิตร และการร่วมมือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดด้านการร่วมมือ คือ คำแถลงร่วมขององค์กรสำคัญในไทยเพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงการรักษา และยารักษาโรคไวรัสตับเสบ ซี การทำงานร่วมกันของพันธมิตรเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีผู้ป่วยแม้แต่คนเดียวถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เป็นผลที่ได้รับจากการแก้ปัญหาการเข้าถึงยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ของผู้ติดเชื้อในไทย” กล่าว โดย Dr. Bernard Pecoul, ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการบริหาร, DNDi
เกี่ยวกับองค์กร DNDi
The Drugs for Neglected Diseases initiative (DNDi) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งทำงานด้านการวิจัย พัฒนา และส่งมอบยารักษาใหม่ สำหรับผู้ป่วยที่ถูกละเลยเป็นหลัก โดยครอบคลุมโรคต่างๆ อาทิ โรคไข้เหงาหลับ โรคชากาส โรคลิชมาเนียซิส โรคพยาธิตาบอด โรคฝีรั่ว โรคเอชไอวีในเด็ก และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคนี้สามารถเข้าถึงการรักษาในวงกว้าง และทำการจดทะเบียนยากลุ่ม DAA ที่มีประสิทธิผลที่ดีต่อการรักษาผู้ป่วยแทบทุกจีโนไทป์ ราคาไม่แพง และปลอดภัยอีกด้วย นอกจากนี้ ยังใช้วิธีรณรงค์ หรือ advocacy ผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และเจตจำนงทางการเมืองที่จำเป็นต่อการขจัดอุปสรรคการเข้าถึงการรักษาด้วยยากลุ่ม DAA ของผู้ป่วยทั่วโลก dndi.org
เกี่ยวกับสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
และส่งเสริมความรู้ ความก้าวหน้าด้านโรคตับแก่แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยมาตรฐานการดูแลรักษาโรคตับที่เทียบเท่ามาตรฐานสากล และมีการจัดฝึกอบรมแพทย์ และส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับโรคตับ อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ ทางสมาคมฯ ยังให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการแก่ มูลนิธิตับแห่งประเทศไทย เพื่อสื่อสารความรู้ ความเข้าใจโรคตับที่ถูกต้อง สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง thasl.org
เกี่ยวกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เกี่ยวกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในหน่วยงานราชการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านวิชาการและเทคโนโลยีการป้องกันและควบคุมโรคของประเทศและระดับนานาชาติ ขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ “ประชาชนได้รับการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับมาตรฐานสากล ภายในปี 2580” moph.go.th
เกี่ยวกับ คณะแพทยศาสตร์สิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์สิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์แห่งแรกที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ผลิตบัณฑิต บุคลากรด้านสุขภาพ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง รวมถึงนักวิจัยการแพทย์ที่ผลิตผลงานวิจัยอันโดดเด่น ยังประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ และเวชปฏิบัติ โดยสถาบันการแพทย์อันเป็นที่เคารพนับถืออย่างกว้างขวางแห่งนี้ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญการแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางในหลากหลายสาขา เพียบพร้อมด้วยฝฝีมือ และประสบการณ์ ที่พร้อมส่งมอบความเป็นเลิศด้านคุณภาพบริการทางการแพทย์ที่ทันสมัยด้วยมาตรฐานสากล และเป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นสถาบันหลักในด้านสร้างเสริมสุขภาวะ และตุณภาพชีวิตที่ดี จนเป็นที่ศรัทธา และเชื่อถือของคนไทยทั้งประเทศ si.mahidol.ac.th
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน โปรดติดต่อ
DNDi ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Molly Jagpal
mjagpal@dndi.org
Frederic Ojardias
fojardias@dndi.org
Photo credit: Kitjapat Natthapisut-DNDi